วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

จันผา: จันผา หรือ จันทร์ผา

จันผา: จันผา หรือ จันทร์ผา: ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena loureiri Gagnep. ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE ชื่อพื้นเมือง : ลักกะจันทน์ จันแดง จันทร์แดง ลักษณะทั่วไป : ...

จันผา หรือ จันทร์ผา


 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dracaena loureiri Gagnep.
ชื่อวงศ์ :  AGAVACEAE
ชื่อพื้นเมือง :  ลักกะจันทน์ จันแดง จันทร์แดง

ลักษณะทั่วไป :
จันทร์ผา  เป็นไม้ป่าประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ จันทร์ผามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง จันทร์แดง หรือลักจั่นจันทร์ผาจัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 5 - 7 ฟุต ลำต้นแกร่ง เปลือกนอกลำต้นมีลักษณะเกลี้ยงเป็นสีเทานวลลักษณะลำต้นตั้งตรงเป็นลำคล้ายหมาก
ใบของจันทน์ผา  จะแตกใบเป็นช่อเฉพาะส่วนยอด ไม่ผลัดใบ รูปทรงไม่แน่นอน อาจจะมีการแตกแขนงออกจากลำต้นใหญ่ได้อีก ลักษณะใบของจันทร์ผาจะมีลักษณะใบเรียวยาว ใบจันทร์ผาจะสีเขียวเข้มปลายใบจะแหลมเป็นรูปหอก ริมใบเรียบเกลี้ยง ส่วนก้านใบจะมีลักษณะเป็นกาบหุ้มซ้อนทับอยู่รอบ ๆ ต้นขนาดของใบจะยาวประมาณ 1.5 - 2 ฟุต มีความกว้างของใบราว 4 - 5 เซนติเมตร ดอกของจันทร์ผาจะออกดอกเป็นพวง โดยแตกออกจากโคนก้านใบคล้ายกับจั่นหมากด้วยเหตุนี้เอง จันทร์ผา จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลักจั่น หมายถึง ต้นไม้ที่ไม่ใช้ต้นหมากหรือมะพร้าวแต่สามารถออกดอกเป็นจั่นได้อย่างจั่นหมากหรือจั่นมะพร้าว เข้าทำนองว่าคล้ายกับการไปลักจั่นหมากหรือจั่นมะพร้าวมาออกที่ต้นของมันได้นั่นเอง จั่นดอกของจันทร์ผาพวงหนึ่ง ๆ จะมีดอกเล็ก ๆ มากมายหลายพันดอก ในแต่ดอกจะมีกลีบสีขาวเล็ก ๆ จำนวน 6กลีบที่บริเวณกลางดอกจะเป็นจุดสีแดงสด เมื่อดอกบานเต็มที่มีความกว้างดอกประมาณ 0.8 เซนติเมตร ในจั่นดอกจั่นหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาการบานดอกนานประมาณ 10-15 วัน



จั่นดอกของจันทร์ผาแต่ละจั่นจะห้อยเป็นพวงระย้ายาว เมื่อดอกแก่และมีการผสมติดก็จะเกิดเป็นผลมีลักษณะเป็นผลกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับขนาดของผลมะแว้งผล เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีผลเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลแก่สุกก็จะกลายเป็นสีแดงสดและจะกลายเป็นสีดำคล้ำ เมื่อผลจันทร์ผาแก่จัดในช่วงที่ผลจันทร์ผาเป็นสีดำคล้ำหรือแก่จัดนี้เองเป็นช่วงที่สามารถนำไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์ได้
การขยายพันธุ์จันทน์ผา  จะใช้วิธีปักชำก็ได้ เช่น หรือจะใช้วิธีหักต้นไปปักให้ขึ้นเป็นต้นใหม่ได้ จันทร์ผาจัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูง เนื่องจากวงการไม้ประดับนิยมจะนำจันทร์ผาไปตกแต่งสวนหย่อมกันมากนั่นเอง          
การปลูกจันทร์ผา  ควรปลูกในดินที่ผสมด้วยหินหรือลูกรังให้มาก ดังนั้นในหลุมที่ขุดเตรียมไว้เพื่อปลูกจันทร์ผา จึงควรมีการผสมดินปลูกใหม่ให้เหมาะสมดังกล่าว เพราะถ้าหากปลูกจันทร์ผาโดยวิธีการปลูกลงในดินล้วน ๆ แล้ว ยอดของจันทน์ผาที่เกิดใหม่จะลีบเล็กลง ทั้งนี้เพราะจันทร์ผาเป็นไม้ที่มีรากแข็งแรงและชิบฝังรากลึก ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี การปลูกจันทร์ผาโดยใช้ส่วนผสมที่มีหินหรือลูกรัง จะช่วยรากของจันทร์ผาแข็งแรงและทนแล้งได้ดี
ดังนั้น หากปลูกจันทร์ผาในดินล้วน ๆ รากของจันทน์ผาจะไม่แข็งแรง และมีผลทำให้ยอดลีบเล็กลงได้จากเหตุผลดังกล่าวมานี้เอง เราจึงมักจะพบเห็นจันทร์ผาในธรรมชาติขึ้นอยู่ตามภูเขาสูง ๆ หรือตามเกาะแก่งกลางทะเลที่ห่างไกลจากฝั่ง การขยายพันธุ์จันทร์ผาในสมัยก่อนนิยมใช้วิธีการปักชำโดยการตัดหน่อหรือกิ่งของจันทร์ผาจากต้นเดิมแล้วนำมาปักชำในกะบะเพาะชำ หรือจะใช้วิธีการหักต้นจันทร์ผาไปเพาะชำ หรือปักลงในแปลงปลูกโดยตรง จันทน์ผาก็สามารถจะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่


แต่ในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงต้องประสบปัญหาในการหาต้นพันธุ์จันทร์ผา ทั้งนี้อันเนื่องมาจากจันทร์ผาที่เกิดในธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นในแหล่งที่เป็นป่าอนุรักษ์หรือในที่วนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ ฯลฯ จึงทำให้ต้นพันธุ์จันทร์ผาเริ่มที่จะหายากขึ้น จึงได้มีการคิดค้นการเพาะขยายพันธุ์ต้นจันทร์ผาขึ้นจากเมล็ดนั่นเอง


ฤดูกาลออกดอก :  กรกฎาคม - สิงหาคม

สรรพคุณทางยา :  แก่นมีรสขมเย็น ใช้แก้ไออันเกิดจากซางและดี แก้ไข้ทุกชนิด แก้เหงื่อตก กระสับกระส่าย บำรุงหัวใจ ฝนทาภายนอกแก้ฟกช้ำ ฝี บวมบำรุงหัวใจ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บาดแผล และใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย ใช้ทำยาหอม
.........................................................................